Feeds:
Posts
Comments

Posts Tagged ‘ภาษา’

วันก่อนง่วนอยู่กับการค้นหาความหมายของคำที่จะมาตั้งชื่อร้าน ปรากฏว่าอากู๋ชักนำให้เข้าไปเจอเรื่องที่เคยค้างคาใจเรื่องหนึ่งโดยไม่ได้ตั้งใจ อ่านแล้วก็รู้สึกดีว่าไม่ได้มีเราที่คิดอย่างนี้คนเดียว ยังมีคนอื่น (ตั้งใจ) ใช้ผิดเหมือนเราด้วย

สังสรรค์ – สังสันทน์ 

…จดหมายฉบับแรก “ครูภาษาไทย” (ไม่ทราบอยู่ไหนส่งเป็นโทรสารมา ถามว่า “ช่วยตรวจสอบคำว่า สังสรรค์ ซึ่งสกุลไทยมักใช้ สังสันทน์ ว่าถูกหรือผิด เพราะดิฉันเปิดพจนานุกรมก็ไม่พบ เปิดหนังสือ “อ่านอย่างไร เขียนอย่างไร” ฉบับราชบัณฑิตยสถานก็พบข้อมูลว่า คำที่ถูกคือ สังสรรค์ และมักเขียนผิดเป็นสังสรร สังสันทน์…”

เรื่องนี้ขอเรียนว่า “สุดสงวน” ดื้อดึงเขียนไปเอง และสกุลไทยก็พอใจใช้สังสันทน์ ในที่ที่ “ไม่เป็นทางการ” ด้วยเหตุที่เราชอบรูปคำ “สันทน์” ซึ่งน่าจะมาจาก “สนฺทน” หรือที่เราใช้ “สนทนา”

“เรา” หมายถึง เพื่อนหัวดื้อของ “สุดสงวน” หลายคนซึ่งล้วนเป็น “ครูภาษาไทยดีเด่น” หลายปี หลายคนต่างเห็นเหมือนกันว่า การไปพบปะชุมนุมกันของญาติสนิท เป็นการไป “พูดคุย สนทนา” กันเสียเป็นส่วนใหญ่ ไม่ค่อยไปร่วมกัน “สร้างสรรค์” สิ่งอันเป็นสารประโยชน์จริงจังใดๆ (สรรค์ = สร้าง สัง = ร่วม)

ไม่อย่างนั้น พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๖ พ.ศ.๒๕๓๙ หน้า ๘๑๙ จะมีคำว่า “สังสนทนา สั่งสนทนา” แล้วแปลไว้ว่า “พูดกันฐานกันเอง พูดจาหารือกัน มักใช้ สั่งสนทนา” และวงเล็บว่า คำบาลีใช้ “สสํนฺทนา ว่า การเทียบเคียงกัน” หรือ?

สังสนทนา หรือ สั่งสนทนา นั้นน่าจะเป็นการที่เราไปพบปะพูดจาคุยกันอย่างเป็นกันเอง หรือ พูดจาหารือกัน ประหนึ่งนกกระจอกแตกรัง ไม่ค่อยมีใครไป “สร้าง” (สรรค์) อะไรเป็นงานเป็นการ

ส่วนคำถัดมาในหน้าเดียวกันนั้น พจนานุกรมฯ ท่านเก็บคำ “สังสรรค์” ไว้แล้วอธิบายว่า “การพบปะวิสาสะกันเป็นครั้งคราวด้วยความสนิทสนม” มีคำไหนที่แปลว่า “พบปะ” “วิสาสะ” “เป็นครั้งคราว” และ “สนิทสนม” ในเมื่อคำว่า “สัง” แปลว่า “ร่วม” และ “สรรค์” ซึ่งมาจากภาษาสันกฤตว่า “สรฺค” แปลว่า “สร้าง” “ทำให้มีขึ้น” อย่างคำแปลในหน้า ๘๐๓ ในพจนานุกรมฉบับเดียวกัน

ทั้งหมดคือ ความดื้อดึงของคนที่มีความเห็นอย่างพวกเรา ซึ่งขอย้ำว่า ล้วนเป็นครูภาษาไทยมาคนละร่วม ๔๐ ปี ทั้งนั้น

แต่คุณ “ครูภาษาไทย” ต้องบอกนักเรียนของท่านว่านั่นเป็นความเห็นของพวกนอกราชการอย่างพวกเราเท่านั้น ถ้านักเรียนจะตอบข้อสอบเอาคะแนนต้องเขียนสังสรรค์เอาคะแนนและเอาตัวรอดไปก่อน

เมื่อออกมา “นอกระบบ” อย่างเพื่อนๆ ของ “สุดสงวน” ค่อยเขียนอย่างที่ใจตัวเห็นว่า “น่าจะถูกต้อง”

อย่างไรก็ตาม เมื่อกติกากำหนดไว้ว่าราชบัณฑิตยสถานเป็นผู้รวบรวมภาษาไทยฉบับมาตรฐาน และมาตรฐานคือความถูกต้อง ผมก็เลยเห็นควรว่าคำว่า สังสรรค์ เป็นคำที่ถูกต้องจนกว่าจะมีการแจ้งเปลี่ยนแปลงจากราชบัณฑิตยสถานเอง

แม้ว่าในชีวิตจริงพวกเรามักจะร่วม สันทน์ กันบ่อยๆ แต่ไม่ค่อยได้ร่วม สรรค์ กันเท่าไหร่ก็เหอะ

Read Full Post »

จากการสนทนากะคนคานวันก่อน  ว่า “็ีHumor me” จากที่อ่านใน a day นั้นเขายกไว้น่าสนใจ

“Humor me.” แปลว่า  “น่านะ ตามใจฉันหน่อย ” ถ้าภาษาอังกฤษก้ว่า  “to do something for someone to make them happy , even it seem stupid

– คุณไปคาราโอเกะกับเพื่อน กะจะเป็นคนฟัง (และกินดื่มเป็นหลัก) แต่เพื่อนลากคุณออกไปร้องเพลงด้วยกัน คุณเขินเซ็ง เกี่ยงไปเรื่อย จนเพื่อนรำคาญ

“Come on, humor me… One song is not gonna kill you” เหอะน่า   เพลงเดียวมันไม่ตายหรอก

– คุณภรรยาเอาเค้กโดเรม่อนปักเทียนห้าสิบกว่าเล่มมาให้คุณเป่าแฮปปี้เบิร์ธเดย์ ต่อหน้าเพื่อนๆคุณ “โฮ่ย  ไม่เอาล่ะ  แก่จะตายอยู่แล้วจะมาเป่าเทียนอธิษฐานอะไรอยู่อีก” แบบว่าเขินน่ะ

ภรรยาคุณก็จะบอกว่า “Come on, humor me…เอาน่า  นิดนึง  ตามใจชั้นเหอะ อุตส่าห์เตรียมขนาดนี้แล้ว

บางทีเราก็ทำอะไรที่เราไม่ชอบ  ที่งี่เง่าสำหรับเรา  น่าอายสำหรับเรา เพื่อให้คนที่เรารักพอใจจะได้ไม่งอนหรือหงุดหงิดอยู่เหมือนกัน

แบบว่า นิดนึง  ทำๆไปเหอะ  ไม่ตายหรอกน่ะ

จะว่าไปก็คล้ายๆของบ้านเราเหมือนกันนะัครับ  “เอาน่า  ขำๆ”

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

ไอเดีย มุมมอง ตัวอย่าง จาก คอลัมน์ “เอ-แอน-เดอะ” โดย บิ๊กบุญ นิตยสาร a day ฉบับที่ 106

Read Full Post »

ถ้าจะพูดประโยค

“น้ำมันหกหมดแล้ว”

ให้มีความหมายถึง water กับ gasoline เราจะเอ่ยต่างกันอย่างไร พอดีเจอในคอลัมน์อะไรซักอย่างน่าสนใจดี ฝากกันฝากกัน…

Read Full Post »