Feeds:
Posts
Comments

Archive for the ‘อารยธรรม’ Category

มีประเด็นสนทนาเล็กน้อย (อยากให้คิดแบบไม่ซีเรียสนะ)

สำหรับระบอบประชาธิปไตย สิทธิหลายๆอย่างเป็นสิทธิพื้นฐาน เช่น การมีที่อยู่อาศัย การเดินทางสัญจร การรับประทานอาหาร ฯลฯ

ทุกคนมีสิทธิมีที่อยู่อาศัย ที่ไหนก็ได้ ถ้าเขาสามารถครอบครองที่นั้นๆ (ซื้อ เช่า หรือ มีคนให้มา) แต่ถ้า ไม่สามารถครอบครองได้ ก็ไม่ได้อยู่ (หรือไม่มีที่อยู่ เช่น คนจรจัด)

ทุกคนมีสิทธิขับรถได้ แต่ต้องมีใบขับขี่ (เพื่อที่พอจะมั่นใจได้ว่า จะขับรถเป็น และจะไม่ทำผิดกฏจราจร หรือ ไปสร้างความเดือดร้อนในท้องถนน)

ทุกคนมีสิทธิทานอะไรก็ได้ ถ้าเขามีตังค์ซื้อ (หรือ ผลิตขึ้นเอง หรือ มีคนให้)

ดังนั้น สิทธิการเลือกตั้ง ทุกคนมีสิทธิ แต่ควรต้องแสดงความสามารถอะไรบางอย่าง (คล้ายๆสอบใบขับขี่) ก่อนไหม เช่น ความรู้ความเข้าใจในการใช้สิทธิ, ประชาธิปไตย หรือ ความรู้ความเข้าใจสภาพการบ้านการเมือง etc.  จึงจะมีสิทธิกาบัตรเลือกตั้ง ?

 

Read Full Post »

iron20maiden-the20x20factor-p

ภาพปกอัลบั้ม The Factory ของวง Iron Maiden

คงเคยได้ยินชื่อเสียงของวงเฮฟวี่จากแดนผู้ดี ที่รุ่งเรืองในยุค 80 วงนี้กันมาบ้าง “Iron Maiden”
แต่ที่จะเล่าวันนี้ ไม่ใช่เรื่องราวของบทเพลงอันกราดเกรี้ยวควบตะบึง หรือ ประวัติใดๆของวงนี้ หากแต่เป็นเรื่องราวของนวัตกรรมอำมหิตที่นามกรของมัน ถูกวงร็อคนามกระเดื่องนี้นำมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้า

Iron Maiden ปรากฏขึ้นตั้งแต่ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 18 ในยุคทมิฬของยุโรป ที่การทรมานในรูปแบบต่างๆ กำลังแพร่หลาย เครื่องมือทรมานทรกรรมกับเพื่อนมนุษย์ ถูกประดิษฐ์ขึ้นอย่างหลากหลาย (มารดามันช่างสร้างสรรค์กันได้บรรเจิดยิ่ง)
Iron Maiden

Iron Maiden

น้องนางพรหมจรรย์เหล็กนี้ มีลักษณะเป็นคล้ายโลงศพ (รูปร่างเหมือนโลงศพฟาโรห์ ) ตัวโลงจะค่อนข้างพอดีกับตัวคน ด้านบนมีไว้ให้สวมพอดีกับหัวคนทำให้ไม่สามารถมองเห็นอะไรภายนอกได้ ส่วนตั้งแต่คอลงมาเป็นเหมือนเสื้อคลุมยาวจรดเท้า ที่สำคัญคือ ที่บริเวณช่วงลำตัวทั้งข้างหน้าและข้างหลัง จะมีของแหลมคม อาจเป็นมีด หรือแท่งไม้ หรือแท่งเหล็กปลายแหลมเปี๊ยบ เพื่อให้มันชำแรกเข้าสู่กายของเหยื่อภายในโลง ยามเมื่อปิดฝาโลงเข้า ด้วยไอเดียอันบรรเจิด นักออกแบบซาดิสค์ยังสร้างสรรค์ให้บางรุ่นสามารถปรับระดับความยาวของแท่งทิ่มแทงเหล่านี้ได้ด้วย เพื่อสามารถกำหนดความลึกในการกระซวก เรียกว่าสามารถจูนเลเวลของความทรมานได้ด้วย แต่ส่วนใหญ่แล้วหลาวแหลมเหล่านี้ จะถูกวางไว้ในตำแหน่งที่ไม่ใช่จุดตายของมนุษย์ เพราะไม่งั้นมันก็จะไม่ใช่เครื่องทรมาน แต่มันจะกลายเป็นเครื่องประหาร ผิดวัตถุประสงค์อันซาดิสค์เสียฉิบ ดังนั้นเมื่อหลาวแหลมเหล่านี้ชำแรกเข้าสู่ร่างกายเหยื่อภายใน มันจะสร้างความเจ็บปวดสาหัส พร้อมทั้งค่อยๆเรียกโลหิตออกมาตามรูพรุนต่างๆ ซึ่งจะไหลลงไปออกทางช่องระบายด้านล่าง (สนใจลาบเลือดซักจานไหม) แต่ก็ไม่ทำให้บาดเจ็บถึงตายในฉับพลัน หากแต่เหยื่อต้องถูกทัณฑ์ทรมานอยู่ภายในนรกอันมืดนี้เป็นเวลานาน อย่างที่ไม่รู้ว่ามันจะสิ้นสุดเมื่อใด และอะไรจะเกิดขึ้นต่อไป

ใบหน้าของพระแม่ผู้เมตตา ?

ด้วยการถูกเสียบแทงบด้วยหลาวแหลมในท่ายืน หากเรียวแรงในการทรงตัวของเหยื่อหดหาย น้ำหนักตัวก็จะยิ่งกดไปที่แผลทั้งหลาย สร้างความเจ็บปวดขึ้นเป็นทวีคูณ ความทุกข์ทรมานจะกินเวลาหลายวัน กว่าเหยื่อนั้นจะขาดใจตายไป (เห็นเขาว่าส่วนใหญ่ตายเพราะหัวใจวาย)

นอกจากนี้เพื่อเพิ่มความเก๋ไก๋ ใบหน้าของเจ้าโลงโลกันต์นี้ ยังทำเป็นรูป “พระแม่มารี” พระแม่ผู้บริสุทธิ์ นี่เองเจ้าเครื่องมืออำมหิตนี้จึงมีชื่อว่า “Iron Maiden” สาวพรหมจรรย์เหล็ก

ในหลายๆครั้ง คนชั่วใส่หน้ากากนักบุญ อ้างหลักศีลธรรม แม้แต่บิดเบือนหลักศาสนา เพื่อสร้างอำนาจ และผลประโยชน์ให้แก่ตนเอง และพวกพ้อง (คุ้นๆไหม) สุดท้ายก็สร้างความเสียหายใหญ่หลวงให้หมู่ชนที่ศรัทธานับถือ เห็นได้ในประวัติศาตร์ของมนุษย์ ที่ผ่านมา เช่น ผู้มีอำนาจในศาสนจักรทั้งหลาย หรือ ผู้นำทางการเมือง อย่างฮิตเลอร์ เป็นต้น จนกระทั่งในยุคปัจจุบันก็ยังมีให้เห็นกันอยู่เนืองๆ

ปิดท้ายขอเอาเพลงของวง Iron Maiden มาให้ฟังซักเพลง แม้รูปลักษณ์ของวง หรือตัวเพลงออกจะกราดเกรี้ยวดุดัน แต่กลับแฝงเมโลดี้ที่งดงามไว้ (ลองฟังท่อนโซโล่) ฟังแล้วจำเริญใจจริง

Fear of the Dark” [Iron Maiden]

Read Full Post »

ในหนังหลายๆเรื่องที่เกี่ยวกับชาวมุสลิม เช่น “Kingdom of Heaven” ที่มีการทักทายกัน ก็สงสัยว่าเขาพูดว่าอะไร และหมายถึงอะไร

คืนนี้นึกได้ เลยเปิดหาดูในเน็ต ก็ได้ความว่าอย่างนี้

การทักทายของอิสลาม หรือ ที่เรียกว่าการให้และรับ “สลาม” เป็นการอวยพรต่อกันโดยวอนขอพรจะพระเจ้า (องค์อัลเลาะฮ์)

คล้ายๆกับในศาสนาอื่นๆ เช่น ขอคุณพระคุ้มครอง หรือ ขอพระเจ้าทรงอำนวยพร ประมาณนั้น

ผู้เริ่มทักทาย (ให้สลาม) จะกล่าวว่า “อัสสลามุอะลัยกุม วะเราะมะตุลลอฮฺ วะบะเราะกาตุฮฺ” ซึ่งแปลว่า “ขอความสันติสุข, ความเมตตา และความจำเริญจากพระองค์อัลเลาะฮ์จงประสบแด่ท่าน” บางทีก็จะกล่าวสั้นๆแค่ “อัสสลามุอะลัยกุม” ซึ่งแปลว่า “ขอความสันติ จงมีแด่ท่าน” (มักได้ยินกันบ่อยๆ)

ส่วนผู้รับจะตอบว่า “วะอะลัยกุมุสลาม วะเราะมาตุลลอฮฺ วะบะเราะกาตุฮฺ” แปลว่า “ขอความสันติสุข, ความเมตตา และความจำเริญจากพระองค์อัลเลาะฮ์จงประสบแด่ท่านเช่นกัน” หรือตอบสั้นๆว่า “วะอะลัยกุมุสลาม” แปลว่า “ขอความสันติ จงมีแด่ท่านเช่นกัน”

ถือเป็นความจำเป็นว่า เมื่อมีผู้กล่าวกล่าวสลามแล้ว จำเป็น(วาญิบ) ผู้ที่ได้ยินนั้นต้องรับสลามด้วย

แต่ระวังนิด เพราะเขาจะทำกันเฉพาะผู้ที่เป็นมุสลิมด้วยกัน เพราะถือว่าเป็นการขอพรจากองค์อัลเลาะฮ์ ดังนั้นผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมจึงทำไม่ได้ (ที่เห็นในเรื่อง Kingdom of Heaven จึงไม่ถูกนัก เพราะเป็นการกล่าวกันระหว่าง มุสลิม กับ คริสเตียน)

ถ้ามีมุสลิมมากล่าวสลาม (เพราะคิดว่า อีกฝ่ายเป็นมุสลิม) ผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมก็สามารถบอกไปได้ว่า ขอโทษค่ะ /ครับ ไม่ใช่มุสลิมค่ะ/ครับ เป็นการแสดงให้เขาเห็นว่า เราแสดงความบริสุทธิ์ใจกับเขาด้วย อาจจับมือทักทายแทน  (เฉพาะเพศเดียวกันเท่านั้น)

กำลังลองศึกษา ทำความเข้าใจกับปรัชญา และ ขนบธรรมเนียมของศาสนาอื่นๆ นอกจากพุทธศาสนาดูบ้าง เพราะคิดว่า ถึงอย่างไร ผู้คนที่นับถือศาสนาต่างๆ ก็ยังต้องอาศัยร่วมโลกกันต่อไป (ถึงจะมีวันสิ้นสุด แต่คงอีกยาวนาน) การเข้าใจ เป็นพื้นฐานที่สำคัญ ให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข เท่าที่ลองอ่านดู ก็เห็นว่า แต่ละศาสนา (โดยเฉพาะศาสนาหลักๆ) ก็ล้วนมีข้อคำสอนที่ดีงาม แต่คนที่นำศาสนาไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัวตะหาก ที่ทำให้เกิดปัญหา และขัดแย้งกัน

ผิด ถุก ปล่อยไก่ ประการใด MrKan แนะนำด้วยเด้อ

ขอสันติ จงมีแด่ทุกท่านนะ

Read Full Post »

อาทิตย์ก่อนอู้ไม่ส่งการบ้าน อาทิตย์นี้เลยขอส่งล่วงหน้าไว้ก่อน
วันก่อนเขียนตอบในเรื่อง เดือนช่วงดวงเด่นฟ้าฯ แล้วกูก็เลยเถิดเข้าไปดูเรื่องผังกลอนของอาจารย์เอก เห็นว่ามีร้อยกรองอีกหนึ่งประเภทที่ยังไม่มีใครพูดถึง เลยขอต่อเติมให้ครบซะหน่อย

ฉันท์เป็นร้อยกรองที่ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย มีลักษณะพิเศษคือนอกจากจะบังคับสัมผัสแล้วยังมีบังคับคำครุ-ลหุด้วย ทำให้เวลาอ่านจะฟังเหมือนจังหวะดนตรี มีหนักมีเบา น่าเอาไปทำฮิพฮอพ

กูลองแต่งสั้นๆ ก่อนสี่บท ที่เลือกอินทรวิเชียรฉันท์ 11 เพราะเห็นเขาว่ามันค่อนข้างง่าย เป็นฉันท์ฟอร์บิกินเนอร์



    ค่ำคืนฤดูร้อน จิต-ซ่อนนิวรณ์ข่ม
    จิบหนึ่งละอารมณ์ จะผลิบาน ณ คืนเพ็ญ
    พร่างฟองละอองกลิ่น ปะทะลิ้นกระซ่านเซ็น
    เลื่อมพรายละลายเร้น อมฤตประโลมใจ
    ทุกข์ร้อนบ่ข้องเกี่ยว ขณะเดียวก็เปลี่ยวดาย
    เพ้อเพรียกสิเรียกใคร ก็มิแว่วสหายกู
    ก่อนเพียรแวะเวียนหา ผิผละลากระไรอยู่
    มาเยือนนะเพื่อนรู้ สละโศกมิจาบัลย์

อินทรวิเชียรฉันท์ 11 บังคับสัมผัสนอกเหมือนกาพย์ยานี 11 ส่วนบังคับครุลหุ เป็นอย่างนี้

ครุ ครุ ลหุ ครุ ครุ           ลหุ ลหุ ครุ ลหุ ครุ ครุ
ครุ ครุ ลหุ ครุ ครุ           ลหุ ลหุ ครุ ลหุ ครุ ครุ

เวลาอ่าน มันจะได้อารมณ์ โท่นๆ ป๊ะ โท่นๆ มันดี แต่แต่งยาก ship สันนิษฐานว่าคำในภาษาอินเดียน่าจะมีคำลหุเยอะ แต่พอมาเป็นภาษาไทยคำลหุมีน้อย เวลาจะแต่งซักบทกูต้องมานั่งทำรายการคำลหุแล้วค่อยเลือกเอามาใช้ แต่จนแล้วจนรอดมันก็หาได้ไม่ครบต้องมีตัวยกเว้นให้อ่านแปลกๆ อย่างวรรคที่สองของบทแรก คำว่า จิต อ่านว่า จิ-ตะ วรรคที่สี่ของบทสอง คำว่า อมฤต อ่านว่า อะ-มะ-ริด ให้มันลงคำดับเบิ้ลลหุตามบังคับ เห็นฉันท์ส่วนใหญ่ที่แต่งกันก็ใช้วิธีเลี่ยงแบบนี้ (กูเลยเอาด้วย) หรือบางทีก็ใช้วิธีฉีกคำจากวรรคหน้าไปฝากไว้วรรคหลัง เช่น แลหลังละลามโล- หิตโอ้เลอะหลั่งไปฯ (สามัคคีเภทคำฉันท์)

ฉันท์อื่นๆ ที่เห็นบ่อยคือ ภุชงคประยาตฉันท์ 12 กับวสันตดิลกฉันท์ 14 (ปางเมื่อพระองค์ปรมพุท ธ-วิสุทธศาสดา ตรัสรู้อนุตรสมา- ธิ ณ โพธิบัลลังก์ฯ) แต่จริงๆ ยังมีฉันท์อีกหลายสิบแบบ กูว่าเป็นร้อยกรองที่มีความหลากหลายที่สุด ชื่อเรียกฉันท์แต่ละแบบก็มีที่มาน่าสนใจดี ว่างๆ ไปดูรายละเอียดต่อเอาเองที่เว็บข้างล่างนี่

http://thaiarc.tu.ac.th/poetry/chan/index.html

Read Full Post »

“สุราทำให้ข้าผจญทุกข์อย่างเป็นสุข  ส่วนสตรีทำให้ข้าสุขอย่างเป็นทุกข์…”

……………………………………………………………………………………

จาก หนังสือ “เดือนช่วงดวงเด่นฟ้า ดาดาว” โดย วินทร์ เลียว วาริณ

Read Full Post »

Original stuff

Dance?

Drums? start at 6:00 min

Read Full Post »

เล่าเรื่องหย่งชุนแล้ว ก็อดกล่าวถึงไท้เก๊กไม่ได้ มวยไท้เก๊ก หรือ ไท้จี่ฉวน (Tai Chi Chuan or Taiji Quan)(太極拳) เป็นมวยภายในชนิดหนึ่ง ในสายของสำนักบู๊ตึ๊ง (นอกจากนี้ยังมี มวยแปดทิศ, มวยสิ่งอี้, มวยโป๊ยเก๊ก, ฯลฯ ที่ล้วนเป็นมวยภายใน) ชื่อก็บอกแล้วว่าเกี่ยวข้องกับพลังภายใน คือ ชี่ (Chi) มวยไท้เก๊กกำเนิดขึ้นมานับพันปี โดยปรมาจารย์นามอุโฆษ “จางซันฟง” หรือ “เตียซำฮง” ผู้ก่อตั้งสำนักบู๊ตึ๊ง (ประวัติลองอ่านจากนิยายเรื่อง “ดาบมังกรหยก” ของกิมย้ง) โดยได้แนวคิดจากที่ได้เห็นการต่อสู้ระหว่างนกกระเรียนและงู ใช้หลักการอ่อนสยบแข็ง ใช้แรงน้อยชนะแรงมา ดังคำที่ว่า “สี่ตำลึง ปาดพันชั่ง” รวมทั้งอาศัยแรงหลักจากพลังภายในที่ชักนำโดยจิต มากกว่าแรงจากกล้ามเนื้อ นี่เป็นหลักการสำคัญของมวยภายใน

เหตุใดจึงต้องเป็นมวยภายใน เหตุเพราะในวิชาหมัดมวยทั่วไป ต้องอาศัยความแข็งแกร่งของร่างกาย ประสาทตอบสนอง และ เทคนิคเป็นสำคัญ ต้องฝึกฝนเป็นเวลายาวนาน แต่เมื่ออายุเลยวัยหนุ่มสาวไปแล้ว แม้ว่าจะฝึกมากเท่าไหร่ ความสามารถก็ต้องถดถอย เพราะพละกำลัง ความว่องไว การตอบสนองต้องลดลง แม้กระทั่งต้องร่างกายต้องบอบช้ำเนื่องจากการฝึกฝนอย่างหนัก แต่กล่าวกันว่ามวยภายในสามารถแก้ไขข้อด้อยนี้ได้ เพราะมวยภายในไม่ได้พึ่งพิงกำลังจากกล้ามเนื้อ แต่อาศัยพลังที่เรียกว่า “จิ้ง” ที่ได้จากการสั่งสมผ่านการฝึกการหายใจ (ปราณ) ดังนั้นจึงสามารถฝึกไปได้ยาวนานแม้สูงอายุแล้ว และพลังนั้นยิ่งสั่งสมไว้นาน ก็จะยิ่งเข้มแข็ง ไม่ลดทอนไปตามกำลังกาย

การฝึกมวยไท้เก๊ก ที่เห็นเคลื่อนไหวช้าๆนั้น เป็นเพราะเป็นการฝึกจิตประสานกับการโคจรลมปราณและการเคลื่อนไหวร่างกาย ตอนฝึกฝนจึงต้องผ่อนคลายและเนิบช้า แต่ทว่าเมื่อหากฝึกฝนจนเชี่ยวชาญแล้ว ในการต่อสู้จิงจะว่องไว และรวบรัดในการเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อย และถึงแม้ว่าจะไม่ได้ใช้ในการต่อสู้ มวยไท้เก๊กก็สามารถใช้เพื่อบำรุงสุขภาพร่างกายและจิตใจได้เป็นอย่างดียิ่ง จึงเห็นได้ว่า ทุกวันนี้มีผู้ออกกำลังกายด้วยไท้เก๊กมากมาย โดยเฉพาะชาวจีน ปัจจุบันมวยไท้เก๊กที่นิยมฝึกกันมีอยู่ 5 สาย คือ มวยไท้เก๊กตระกูล เฉิน หยาง อู๋ อู่ และ ซุน

อธิบายอาจไม่เห็นภาพ จะลองใช้ชมตัวอย่างของพลังภายในของไท้เก๊ก ส่วนจะเชื่อหรือไม่ก็ลองพิจารณาดูครับ

อันนี้ผลักคนสองคน คนอยู่ใกล้ไม่ค่อยขยับ แต่คนหลังกลับกระเด็น

อันนี้เป็นคลิปอาจารย์มวยอายุกว่าเก้าสิบปี แสดงการใช้ไท้เก๊ก

ถ้าสนใจลองอ่านเพิ่มเติมดูในเน็ตมีพอสมควร เช่น http://www.thaitaiji.com/ หรือ จากหนังสือเช่น มวยจีนเพื่อชีวิตที่ดีกว่า (อ.สุวินัย)

Read Full Post »

เล่าเรื่องหนัง Ip Man แล้วติดพัน ขอนำเสนอเพิ่มเติมเกี่ยวกับหมัดสั้นหย่งชุนอีกหน่อยนะ

อ.ยิปหมั่นและบรู๊ชลี

ประวัติของหย่งชุนหากสนใจลองอ่านที่ ประวัติมวยหย่งชุน

วิชาหมัดมวยโดยทั่วไป แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ มวยภายนอก และ มวยภายใน เรามักคุ้นเคยกับมวยภายนอก เพราะมวยส่วนใหญ่ในโลกเป็นแบบนี้ คือ จะใช้ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ กระดูก เป็นหลัก เน้นความแข็งแกร่ง รวดเร็ว ใครแข็งกว่า เร็วกว่า ก็ชนะ ตัวอย่างเช่น คาราเต้, มวยสากล, มวยไทย, ไอคิโด้, ยิวยิตสู, เทควอนโด้ รวมทั้ง กังฟูส่วนใหญ่

อีกประเภทหนึ่งคือมวยภายใน หรือ มวยที่เน้นการฝึกและใช้พลังภายใน ใช้จิตนำพลัง เกี่ยวข้องอย่างมากกับการฝึกจิต และการหายใจ เช่น มวยสิ่งอี้ มวยแปดทิศ มวยไท้เก้ก เป็นต้น รายละเอียดลองอ่านหนังสือ “มวยจีนเพื่อชีวิตที่ดีกว่า ของ อ.สุวินัย” หรือ มวยภายใน

��.ยิปชุนตำนานที่ยังมีชีวิต

อ.ยิปชุนบุตรของอ.ยิปมัน

สำหรับมวยหย่งชุน แม้จะใช้หลักการ ของการยืมแรงจากคู่ต่อสู้ แต่ผมยังไม่แน่ใจว่าเป็นมวยภายในหรือไม่นะ แต่อย่างไรก็ตาม โดยเทคนิคของมวยหย่งชุนแล้วถือว่ามีประสิทธิภาพมาก และอย่างที่เคยเล่ามาแล้วว่ามวยหย่งชุนคิดค้นโดยสตรี หย่งชุนจึงสามารถใช้ออกโดยผู้ที่แรงน้อยกว่าต่อกรกับผู้ที่แรงมากกว่าได้เป็นอย่างดี

มวยหย่งชุนได้รับการถ่ายทอดโดยอาจารย์ที่สำคัญคือ อ.ยิปมัน โดยเฉพาะเมื่อลูกศิษย์คือบรู๊ชลีโด่งดังในโลกภาพยนตร์ มวยหย่งชุนก็เป็นที่สนใจอย่างกว้างขวาง ปัจจุบันมวยหย่งชุนมีการเปิดสอนมากมาย แม้แต่ในประเทศไทย มีผู้ฝึกเรียนทุกเพศทุกวัย

ต่อไปนี้ขอนำเสนอคลิปที่น่าสนใจเกี่ยวกับมวยหย่งชุน พอเป็นกระษัยครับ

 

หมัดหย่งชุน อ.ยิปมัน และศิษย์

ห้องเรียนหย่งชุน ฝรั่งสาวๆสนใจกันมาก

อ.ยิปชุนสาธิตมวยหย่งชุน

การปัดป้องอันยอดเยี่ยมของหย่งชุน

Read Full Post »

จินตนาการการใช้เสียงของวิชาดูหลำส่วนหนึ่งในนวนิยาย “บุหงาปารี” แปลงมาจากหลัก  มนตรา ของวิชาโยคะสายกุณฑาลินี

มนตรา (Mantra) คือการพุ่งออกของจิตใจผ่านการใช้เสียง (มน+ตรัง  มนคือจิตใจ  ตรังคือคลื่นที่พุ่งออก)  เป็นหัวใจของโยคะ  เนื่องจากเชื่อว่าเสียงมีพลังที่ส่งผลต่อจักระในร่างกาย

ตามหลักการของมนตรา  เพดานปากของคนเรามีจุดเมอริเดียน (จุดเส้นพลัง) 84 จุด  อยู่ที่เพดานด้านหลังฟันและไรฟัน 64 แห่ง  โดยฟันแต่ละซี่มีจุดเส้นพลังอยู่ 4 จุด  ส่วนอีก 20 จุดที่เหลือ  อยู่ที่เพดานปากส่วนกลาง  จุดเหล่านี้ควบคุมระบบต่างๆของร่างกาย

กุณฑาลินีโยคะอธิบายว่า  จุดเมอริเดียนสัมพันธ์กับส่วนที่เรียกว่า  ไฮโปทาลามัส  ในสมอง  ไฮโปทาลามัสควบคุมความรู้สึกหิว  กระหายน้ำ  อุณหภูมิของร่างกาย  อารมณ์  ความรู้สึกทางเพศ  ฯลฯ  การกระตุ้นจุดเมอริเดียนโดยผ่านการท่องมนตรา (หรือการใช้เสียง)  จะช่วยกระตุ้นไฮโปทาลามัสให้ส่งคำสั่งส่งสารเคมีไปยังส่วนสำคัญของร่างกาย  เพื่อให้ทำงานดีขึ้น  อารมณ์ดีขึ้น  และแข็งแรงขึ้น

การทำงานของมนตราอิงหลักที่ว่า  เสียงมีผลต่อการทำงานของสมองส่วนต่างๆ และการไหลเวียนของปราณ (พลังชีวิต) ในร่างกาย

……………………………………………………………………………………………………………………………

คัดลอกจาก  ภาคผนวก  นวนิยาย “บุหงาปารี” โดย วินทร์  เลียววาริณ (นวนิยายที่สร้างเป็นภาพยนตร์  ปืนใหญ่จอมสลัด)

ป.ล. ปารี แปลว่า ปลากระเบน โดยนัยว่า  เป็นตัวแทน ความดีและชั่วหรือด้านมืดกับด้านสว่างที่ถูกมัดรวมอยู่ด้วยกัน  ่  เช่นปลากระเบนที่มีด้านบนเป็นสีดำ ด้านล่างเป็นสีขาว  จึงมีตัวละครเกี่ยวพันกับปลากระเบนอยู่  ไม่ว่าจะเป็นตัวปารี(พระเอก) เอง  ที่ได้รับการช่วยเหลือจาก อาจารย์กระเบนขาว โดยการส่งปลากระเบนไปช่วย  และกระเบนดำ ด้านมืดของอาจารย์กระเบนขาว   แม้แต่ตัวปารีเองก็ต้องต่อสู้กับฝ่ายมืดในจิตใจตนเอง

Read Full Post »

Green Roof

ทางผู้บริหารมหานครโตเกียวประกาศกฎเหล็กออกมาเมื่อปี 2001 ว่า นับจากนี้ หากตึกสร้างใหม่ตึกไหนมีพื้นที่เกินกว่า 1,000 ตารางเมตร หรือ 250 ตารางเมตรสำหรับอาคารที่เป็นสาธารณูปโภค ต้องทำสวนบนหลังคาและพื้นที่บนผนัง

ในปี 2005 ทั่วโตเกียวเลยมีพื้นที่สีเขียวบนหลังคาตึกรวมกันถึง 5.4 ตารางกิโลเมตร ตอนนี้ทางโตเกียวเขาก็ร่ำๆว่าอยากจะชวนตึกที่สร้างก่อนกฎหมายนี้บังคับใช้มาร่วมโครงการด้วย

ภาพที่เอามาให้ดูเป็น Fukuoka Prefectural International Hall ในเมืองฟุกุโอกะซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นพื้นที่สีเขียวบนหลังคาที่อลังการที่สุดในญี่ปุ่น(ติดอันดับโลกด้วย)

acros1

acros11

acros7

……………………………………………………………………………………….

คัดลอกจากนิตยสาร a day ฉบับ 99 คอลัมน์ Think Positive

ภาพจาก http://www.greenroofs.com

Read Full Post »

โคลงโบราณนี้ เป็นโคลงสี่สุภาพที่พบในหนังสือเฟรชชี่รุ่นโบราณจากห้องสมุดภาควิศวกรรมโยธา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายความหมายดั้งเดิมของโซตัสในมุมมองของนิสิตคณะดังกล่าว

S – Seniority

ต่างคนต่างชั้นเรียน   ต่างปี

เปรียบหนึ่งเป็นน้องพี่ ร่วมพ้อง

พี่แนะสิ่งใด ใดผิด

เจ้าประพฤติสมดั่งน้อง พี่นี้ คอยเคียง ฯ

O – Order

หมู่ชนคนหลากล้น สารพัน

ต่างมาร่วมรวมกัน สร้างชื่อ

วินัยจึงสำคัญ มากอยู่

เรียนเล่น บ มิยื้อ นอกล้น กฎเกณฑ์ ฯ

T – Tradition

เจตนาพาสืบทอด สิ่งดี

ต่างชนคนต่างมี แผกบ้าง

สานสืบประเพณี คือหนึ่ง

หลากรุ่นร่วมสรรค์สร้าง ต่อเนื่อง เนิ่นนาน ฯ

U – Unity

สามัคคีถือเทิดไว้ มั่นคง

เลือดหมูจักดำรง สืบได้

บ้านเมืองยิ่งดำรง อยู่ยั่ง ยืนนา

ผองพวกรักร่วมไว้ ดุจแม้น ฟันเฟือง ฯ

S – Spirit

สละซึ่งกายจิตได้ เป็นดี

เรียนเด่นเล่นควรมี คละเคล้า

น้ำใจยิ่งต้องมี เป็นหนึ่ง

ร่วมกิจกรรมเข้า แบ่งบ้าง ตามกาล ฯ

……………………………………………………………………………………………………………………………………………….

ตัดตอนคัดลอกจาก คอลัมน์ พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ เป็น ‘พหูตูบ’ นิตยสาร a day ประจำเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2551

Read Full Post »

เคยเห็นภาพข่าว งานฉลองกรุง “เนปิดอ” เมืองหลวงใหม่ของพม่า เมื่อหลายปีที่ผ่านมา ได้เห็นภาพอนุสาวรีย์มหึมาน่าเกรงขามด้านหลัง เกิดสนใจขึ้นมา เมื่อไปค้นต่อก็เลยรู้ว่า เป็น ” 3 กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งพม่า ” เป็นใครกันบ้าง วันนี้จะขอแนะนำโดยย่อ ใครสนใจก็ลองค้นต่อกันดู (หรือจะไปถกต่อในวงซิมโพเซียมก็ได้นะ)

พระเจ้าอโนรธามังช่อ

พระเจ้า��โนรธ

พระเจ้าอโนรธา

พระเจ้าอโนรธามังช่อ หรือ พระเจ้าอโนรธา (Anawrahta) (พ.ศ. 1587-1620) ปฐมกษัตริย์พม่าแห่งราชวงศ์พุกามผู้ก่อตั้งอาณาจักรพุกาม เรื่องราวของพระเจ้าอโนรธานั้นมีกล่าวอยู่มากมายในประวัติศาสตร์พม่า ทั้งตำนานพื้นบ้าน ศิลาจารึก และปรัมปราต่าง ๆ จนดูคล้ายเป็นกษัตริย์ในตำนานมากกว่าจะมีพระองค์จริง เช่น การขึ้นครองบัลลังก์ของพระองค์ด้วยการปราบดาภิเษกได้เพราะมีพระอินทร์อุปถัมภ์ เป็นต้น

พระองค์คือกษัตริย์พม่าพระองค์แรกที่สร้างความปึกแผ่นแก่พม่า ทรงรวบรวมแว่นแคว้นต่าง ๆ ขึ้นเป็นหนึ่งเดียว อีกทั้งยังทรงสถาปนาพระพุทธศาสนาให้สถิตย์อยู่ในพม่าตราบจนทุกวันนี้ด้วย

พระเจ้าอโนรธาขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 1587 (ค.ศ. 1044) ช่วงเวลาที่พระองค์ขึ้นครองราชย์นั้น อาณาบริเวณของพุกามกินพื้นที่เพียงแถบเมืองพุกามและประเทศพม่า (ในปัจจุบัน) ตอนกลางเท่านั้น ต่อมา พระเจ้าองค์ได้สถาปนาราชอาณาจักรที่แข็งแกร่งมั่นคงโดยรวมเอาเมืองประเทศราชเล็ก ๆ ที่แยกกันเป็นส่วน ๆ ณ เวลานั้น

พระเจ้าอโนรธาเมื่อทรงครองราชย์แล้ว ไม่ทรงโปรดที่ชาวพม่าขณะนั้น นับถือความเชื่อพื้นเมืองอย่างงมงาย เช่น ผี หรือ นัต และนักบวชนอกศาสนา (อะเยจี) เป็นต้น จึงทรงสถาปนาพระพุทธศาสนาให้สถิตย์อยู่ในอาณาจักรพม่า ซึ่งในขณะนั้น มีพระรูปหนึ่ง ชื่อ พระชินอรหันต์ กำลังจารึกแสวงบุญจากเมืองสะเทิมมายังพุกาม พระเจ้าอโนรธาได้แสดงความนอบนบต่อพระชินอรหันต์ พระองค์ก็ทรงมีศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง จึงทรงขอร้องให้พระชินอรหันต์เผยแผ่พระศาสนาในพุกาม และด้วยความช่วยเหลือของพระชินอรหันต์ พระองค์จึงสามารถสถาปนาพุทธศาสนาให้มั่นคงขึ้นเป็นครั้งแรกในพม่า

พระเจ้าอโนรธามังช่อสวรรคตในปี พ.ศ. 1620 ตามพงศาวดารพม่าระบุว่า พระองค์สวรรคตด้วยอุบัติเหตุระหว่างออกล่าสัตว์ เนื่องจากถูกกระบือเผือกขวิด

พระเจ้าบุเรงนอง

พระเจ้าบุเรงนอง (Bayinnaung) (พ.ศ.2094 – 2124)  พระนามออกเสียงตามสำเนียงพม่าว่า “บาเยนอง” มีความหมายว่า “พระเชษฐาธิราช”) มีพระนามเต็มว่า “บาเยนองจอเดงนรธา” (ไทยเรียกเพี้ยนเป็น “บุเรงนองกะยอดินนรธา“) แปลว่า “พระเชษฐาธิราชผู้ทรงกฤษดาภิหาร”

พระเจ้าบุเรงน��ง

พระเจ้าบุเรงนอง

กษัตริย์พม่าพระองค์ที่ 3 ในราชวงศ์ตองอู  แน่นอนพระองค์เป็นกษัตริย์พม่าองค์ที่คนไทยหรือชาวต่างชาติ รู้จักดีที่สุดก็ว่าได้ เนื่องด้วยเกียรติประวัติอันเลื่องลือ จนมีฉายาว่า “พระเจ้าชนะสิบทิศ” อีกทั้งยังมีวรรณคดีประเภท นิยายปลอมพงศาวดารชื่อดังที่มีพระองค์เป็นตัวเอกของเรื่อง คือ “ผู้ชนะสิบทิศ” ด้วย ซึ่งได้มีการนำไปสร้างเป็นละคร ภาพยนตร์ในภายหลังหลายต่อหลายครั้ง

พระนามต่าง ๆ ก็มีอีกมาก เช่น “เซงพะยูเชง” แปลว่า “พระเจ้าช้างเผือก” หรือ “ตะละพะเนียเธอเจาะ” อันแปลว่า “พระเจ้าชนะสิบทิศ” เป็นฉายาที่พบในศิลาจารึกของชาวมอญ และชาวตะวันตกรู้จักพระองค์ในพระนาม “บราจินโนโค่” (Braginoco)

พระเจ้าบุเรงนอง นับว่าเป็นกษัตริย์พม่าที่ทางพม่านับว่า เป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ 1 ใน 3 พระองค์ ด้วยความเป็นกษัตริย์นักรบอันเป็นที่ปรากฏพระเกียรติเลื่องลือ โดยยุคสมัยของพระองค์ อาณาจักรตองอูเข้มแข็งและแผ่ไพศาลอย่างที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยครอบคลุมอาณาเขตตั้งแต่ลุ่มน้ำอิระวดีจนถึงลุ่มแม่น้ำโขง มีประเทศราชต่าง ๆ มากมายในภูมิภาคอุษาคเนย์ ได้แก่ หงสาวดี, ล้านช้าง, ไทยใหญ่, เขมร, ญวน, อยุธยา, เชียงใหม่ เป็นต้น

พระเจ้าบุเรงนองสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2124 ด้วยพระโรคชรา

พระเจ้าอลองพญา

พระเจ้าอลองพญา (Alaungpaya) (พ.ศ. 2295 – 2303) ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์อลองพญา หรือ ราชวงศ์คองบอง ราชวงศ์สุดท้ายของพม่า พระนามของพระองค์ออกสำเนียงเป็นภาษาพม่าว่า “อลองเมงตะยาจี” หรือ “อลองพะ” โดยมีความหมายถึง “พระโพธิสัตว์”

พระเจ้าอลองพญา

พระราชประวัติ กำเนิดเป็นสามัญชนธรรมดา นามว่า “อองไชยะ” หรือ “อองไจยะ” ที่หมู่บ้านเล็ก ๆ ชื่อ “มุตโชโบ” (ปัจจุบันอยู่ที่เมืองชเวโบ อยู่ห่าง 113 กิโลเมตร ทางตะวันออกเฉียงเหนือของมัณฑะเล) โดยเป็นคนที่เก่งกล้ามีความสามารถ มีความเป็นผู้นำ จนสามารถขึ้นเป็นผู้นำหมู่บ้าน ปราบปรามก๊กต่าง ๆ รวมประเทศเป็นปึกแผ่นอีกครั้ง เนื่องจากพม่าในยุคนั้น แผ่นดินได้แตกเป็นแคว้นเป็นเหล่า จนปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ ตั้งราชวงศ์ใหม่ และตั้งพระนามโดยให้เชื่อว่า พระองค์เป็นเสมือนพระโพธิสัตว์มาปราบยุคเข็ญ และยังได้สถาปนาศูนย์กลางของอาณาจักรพม่าขึ้นใหม่ ที่เมืองชเวโบ ก่อนที่จะย้ายมาที่อังวะในยุคหลัง โดยมีเมืองอื่น ๆ รายล้อมเช่น อมระปุระ มณีปุระ หรือ สะกาย เป็นต้น อีกทั้ง พระองค์ยังเป็นผู้พัฒนาเมืองย่างกุ้งและพระราชทานชื่อเมืองนี้ ซึ่งเป็นอดีตเมืองหลวงของพม่าให้มีพัฒนาการขึ้นมาด้วย จากเดิมที่เป็นเพียงหมู่บ้านชาวประมงเล็ก ๆ

เมื่อปราบมอญราบคาบแล้ว พระองค์ก็คิดจะตีไทย คือกรุงศรีอยุธยา ให้อยู่ในอำนาจให้ได้เหมือนเมื่อครั้งพระเจ้าบุเรงนอง ๒๐๐ ปี ก่อนโน้น จึงยกทัพเข้ามาตี (ในตอนนั้นอยุธยาตรงกับรัชสมัยพระเจ้าเอกทัศน์) แต่ไม่สำเร็จ ต้องยกทัพกลับไป ไปประชวรสิ้นพระชนม์ระหว่างทาง เมื่อ พ.ศ.2503 ตามพงศาวดารไทยระบุว่าสิ้นพระชนม์เพราะปืนใหญ่แตกที่วัดหน้าพระเมรุ แต่ทางพงศาวดารพม่าระบุว่าสิ้นพระชนม์เพราะประชวร

* ข้อมูลจาก Wikipedia และ http://www.sakulthai.com (ราชวงศ์พม่าและญวน เมื่อปลายกรุงศรีอยุธยา, จุลลดา ภักดีภูมินทร์)

Read Full Post »

ท่ามกลางบรรยากาศการเมืองที่ร้อนระอุในปัจจุบัน ที่ไม่รู้ว่าจะจบลงแบบใด หรือ ใครจะเป็นฝ่ายชนะ สำหรับผมแล้ว รากของปัญหาไม่ใช่เกิดจากใคร หรือ กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่เกิดจากประชาชนทั้งหลายในชาตินั่นเอง และ เพื่อที่จะแก้ปัญหาให้ได้อย่างเด็ดขาด และ ยั่งยืน ผมได้เคยครุ่นคิด และ ได้คำตอบบางประการมาระยะหนึ่ง ผมเรียกว่า “หลักความพอเพียง 3 ประการ” เพื่อก่อเกิดประชาธิปไตยที่แท้จริง (อาจหมายถึงประชาธิปไตย ที่ประชาชนมีส่วนร่วมที่แท้จริง)

ความพ��เพียง 3 ประการ

ความพอเพียง 3 ประการ

 

ความพอเพียง 3 ประการได้แก่

1. ความพอเพียงทางเศรษฐกิจ – คือ การพึ่งพาตนเองได้ของประชาชน มีความเป็นอยู่ได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องอาศัยพึ่งพิงการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ หรือ อยู่ภายใต้การอุปถัมป์จากผู้ใด นั่นจะทำให้พวกเขาไม่ต้องขึ้นต่อใคร และ มีอิสระในการตัดสินใจ หลักการหนึ่งที่สนับสนุนสิ่งนี้ คือ “เศรษฐกิจพอเพียง

2. ความพอเพียงทางการศึกษา– การศึกษาก่อให้เกิดปัญญา ซึ่ง นำไปสู่ความสามารถในการพัฒนาและพึ่งพาตนเอง มีความคิดเห็นที่ถูกต้อง ไม่ถูกเอาล่อลวง ชักจูงไปในทางมิชอบ รู้ผิดชอบ ชั่วดี เข้าใจถึงสิทธิ และ หน้าที่ของตน

3. ความพอเพียงทางข้อมูลข่าวสาร – ข้อมูลข่าวสารนั้นต้องพอเพียงสำหรับใช้ในการดำเนินชีวิต และ การแข่งขันในสังคมโลก ให้รู้เท่าทันคน และ สถานการณ์ต่างๆ ข้อมูลข่าวสารนอกจากจะสำคัญในระดับบุคคลแล้ว ยังสำคัญในระดับสังคมของคนหมู่มากด้วย เพราะการสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญพื้นฐานของสังคมมนุษย์ ทำให้เกิดความร่วมมือ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ข้อมูลข่าวสารนอกจะต้องเพียงพอแล้ว ข้อมูลเหล่านั้นต้องเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกบิดเบือน หรือ ส่งเสริมอวิชชา ความหลงมัวเมาต่างๆ เป็นข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง และ ส่งเสริมระดับจิตใจของมนุษย์

เมื่อมีความพอเพียงใน 3 ประการนี้แล้ว จึงจะสร้างการเมืองใหม่ ที่มีความเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง และ ยั่งยืนได้

Read Full Post »

ซูลิ โบราณจารย์ของจีนบันทึกไว้ว่า ในพระราชวังของพระมหากษัตริย์จีนนั้นมีข้าราชบริพารร่วม 4000 คน ประมาณ60เปอร์เซ็นต์ หรือประมาณ 2271 คน เป็นเจ้าหน้าที่ห้องเครื่อง ว่ากันว่าบริเวณสำนักเครื่องต้นน่าจะใช้เนื้อที่ราว 30 ไร่

พวกแรกเป็นนักโภชนาการที่มีความรู้เรื่องคุณสมบัติและประโยชน์ต่างๆของอาหารแต่ละชนิด และเครื่องดื่มต่างๆที่ผลิตทั่วไปในแผ่นดินจีน ซึ่งมีจำนวน 162 คน เหล่านี้จะสลับเวรกัน คิดรายการอาหารเพื่อจัดถวายพระเจ้าแผ่นดิน พระราชินี และพระราชวงศ์ แบ่งเป็นกลุ่มเชี่ยวชาญพระยาหารมื้อเช้า กลุ่มเชี่ยวชาญพระยาหารกลางวัน กลุ่มเชี่ยวชาญพระยาหารเย็น และกลุ่มที่สี่ชำนาญอาหารว่างและเครื่องขบเคี้ยวคาวหวาน ทั้งสี่กลุ่มจะผลัดเวรกันสร้างรายการพระยาหารซึ่งห้องเครื่องต้นจะปรุงถวายให้อธิบดีตรวจความเหมาะสม มิให้ต้องเสวยซ้ำซาก

กลุ่มต่อไป เชี่ยวชาญเรื่องเนื้อสัตว์ต่าง เช่น เนื้อวัว เนื้อความ เนื่อเลีบงผา และสัตว์ที่ต้องล่าจากป่าอื่นๆ

อีก 62 คน เชี่ยวชาญเรื่องสัตว์ปีกทั้งหลายตั้งแต่ เป็ด ไก่ ไก่ฟ้าพญาลอ นกกระเรียน

ผู้เชี่ยวชาญเรื่องปลา 342 คน พวกนี้จะรู้ตั้งแต่วิธีเพาะพันธุ์ วิธีเลี้ยง คุณสมบัติจ่างทั้งปลาทะเลและปลาน้ำจืด รวมทั้งพวกสัตว์มีกระดองทุกอย่าง ตั้งแต่ เต่า ตะพาบ ไปจนถึงกุ้ง หอย ปู

28 คนเป็นนักตากเนื้อและรักษาคุณภาพเนื้อต่างๆ

ผู้ชำนาญเรื่องข้าวต่างๆ ข้าวอย่างไหน แป้งจำพวกไหนกินกับอาหารอะไร จะต้องจัดให้เข้าชุดกัน รวมกับผู้ชำนาญผักผลไม้ เบ็ดเสร็จมีอยู่ 335 คน

ชุดต่อมาอีก 110 คน ดูแลชุดเครื่องพระสุธารส ซึ่งก็คือเรื่องสุราต่างๆ ที่คัดเลือกเอาอย่างยอดจากมณฑลใกล้ไกลมาทดสอบคุณภาพความหอม ความฉุน ความแรง และคุณสมบัติในการกระตุ้นอวัยวะภายในส่วนต่างๆ ทั้ง ชาคอ ชาหอม และชาล้างไขมัน

พ่อครัวระดับ เถ้าชิ้ว(มือหนึ่ง) ยี่ชิ้ว(มือสอง) และผู้อบู่หน้าเตาไฟยังแบ่งออกไปอีก

ชุดทำครัวถวายพระเจ้าแผ่นดิน พระราชินี และพระราชวงศ์ 128 คน

ชุดทำครัวผู้เข้าเฝ้ารับพระราชทานเลี้ยง 128 คน

ชุดบริการเสิร์ฟอาหาร ชุดบริการสุรา 340 คน

ผู้ชำนาญเครื่องดื่ม 6 ชนิด 170 คน (ไม่มีข้อมูลระบูว่าคือเครื่องดื่มอะไร)

ผู้ดูแลน้ำแข็ง ซึ่งลำเลียงมาจากภูเขาน้ำแข็งแล้วเก็บให้มีกินตลอดปี 94 คน

ผู้บริการด้วยถาดไม้ไผ่ 31 คน

ผู้บริการจานร้อนของเนื้อต่างๆ 61 คน

ผู้ชำนาญของดองและเครื่องจิ้มต่างๆ 62 คน

เจ้าหน้าที่ห้องเก็บเกลือและน้ำตาล 62 คน

ข้อมูลจาก “ข้างครัวตะวันออก” โดย พิชัย วาศนาส่ง

Read Full Post »