Feeds:
Posts
Comments

Posts Tagged ‘บันเทิงคดี’

เสียดายที่ช้าไปเนิ่นนาน  คอนเสิร์ตนี้ตั้งแต่ปี ๒๐๐๒ เก็บดองดีวีดีไว้หลายปี  มัวแต่รออารมณ์แล้วอารมณ์เล่า  ส่วนซีดีนั้นฟังไปเมื่อหลายปีที่แล้ว  ความรู้สึกแตกต่างกันมากมายเมื่อได้เห็นภาพ   แค่เปิดตัวคอนเสิร์ตก็ขนลุกซู่  ดึงความรู้สึกได้รุนแรงเหลือเกิน  สนุกมากๆ  นักดนตรีสนับสนุนเพียง ๔ คน กับตำนานที่ยังมีลมหายใจ วัยล่วง ๖๐ ไปแล้ว  สุดๆครับผม  หมดปัญญาบรรยาย

บางคอนเสิร์ตเราทึ่งโปรดักชั่น  เราทึ่งนักร้อง  แต่คอนเสิร์ตนี้มันเป็นประวัติศาสตร์ของผู้คน  เพลงของ the Beatles เป็นเพลงของโลกนานแล้ว  นี่เป็นคอนเสิร์ตของหัวหอกคนสำคัญคนเดียวที่ยังเหลืออยู่ของ the Beatles

ตอนที่พอล เล่นเพลงเพื่อระลึกถึง เต่าทองที่จากไป  เลนนอน และ แฮร์ริสัน ทำเอาน้ำตาซึม  ภาพประกอบที่เคยร่วมเวทีครั้งที่ยิ่งใหญ่คับโลก  ครั้งที่บริติชตีอเมริกา  และตีโลกทั้งโลกได้สำเร็จด้วยคนสี่คน  ไม่สิ  ใช้คำว่าเปลี่ยนโลกได้เลยทีเดียว  ทำให้นึกไปถึงว่าบุคคลที่เราจับจ้องอยู่คนนี้  เขาได้เดินผ่านอะไรมาที่คนธรรมดาไม่อาจจินตนาการได้ถึง

อดรู้สึกไม่ได้ที่เห็นเด็กเล็กๆ ได้อินกับเพลงของคนรุ่นนี้  และวัยรุ่นในยุคดิจิตได้ตอบรับกับความสุขจากเพลงของคนรุ่นนี้  แอบหันมามองบ้านเราอยู่เหมือนกัน

กลายเป็นงานปาร์ตี้ที่นำด้วยคนวัยพักผ่อน ปรับดนตรีได้มันมากๆ  ร่วมสมัยโดยรักษาอารมณ์เดิมๆไว้ได้

นักดนตรีสนับสนุนเล่นกันได้สุดๆ  เยี่ยมมากๆคอนเสิร์ตนี้  ประทับใจอย่างมากมาย

ได้ดูการสัมภาษณ์คนดูที่เข้าร่วม  บางคนน้ำตาไหลเพราะรอคอยมายาวนาน  บางคนว่าครั้งนั้นของ the beatles เป็นช่วงเวลาเปลี่ยนแปลงชีวิต  มีความตื้นตันหลายๆประการเกิดขึ้น  ทำเอาเราแป้วไปด้วย  และรู้ได้เลยว่าเราไม่เข้าใจเขา  ความยิ่งใหญ่ที่เรารู้สึกมันอาจจะเทียบไม่ได้เลยกับพวกเขาเหล่านั้น

ทิ้งท้ายรำลึกทึ่งเต่าทองที่เงียบที่สุด  สันโดษที่สุด  และเป็นศิลปินที่สุด (ตามที่สื่อเขาว่า)

ย้ำ…นี่เป็นคอนเสิร์ตที่เยี่ยมมากๆ  คนรัก the beatles ไม่มีเหตุผลที่จะละเลย  ความสุขล้วนๆ มั่นใจครับผม  อย่างน้อยเราก็ได้อยู่ทันคนดนตรีระดับประวัติศาสตร์โลกต้องจดจำจารึกอีกหนึ่งคน  ต่อๆไปนั้นบอกได้ยากมาก  ถ้าตัดการตลาดทิ้งแล้วใครจะเป็นตำนาน

อ้อ…นี่เพลงเปิดคอนเสิร์ต  เข้าท่ามั้ยล่ะ  แทบไม่ต่างกับเมื่อสี่สิบกว่าปีที่แล้วเลย

Read Full Post »

ปล. #4

คืนก่อนฝันเรื่องที่ไม่คิดว่าจะยังเก็บมาฝันได้

เรื่องจริงที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนมกราคม 2536 รักบี้ประเพณีวิศวะจุฬาฯ – ลาดกระบัง จุฬาฯ นำอยู่ 7-5 เหลืออีกไม่ถึงห้านาทีถ้าเกมจบตอนนี้ก็จะเป็นชัยชนะครั้งแรกของจุฬาฯ ในรอบสี่ปี ฉากตัดมาตอนที่ลาดกระบังได้ลูกโทษระยะไกล คนเตะเตะลูกลอยไปไม่ได้ใกล้เคียงกับระยะประตูเลย แต่ลูกนี้เป็นลูก “ไม่ตาย” ใครรับได้ก็สามารถเล่นต่อได้ คนเสื้อชมพูในสนามสิบห้าคน มีผมยืนอยู่คนเดียวตรงจุดที่จะต้องรับลูกนั้น แปลกที่ชีวิตมักจะเป็นอย่างนี้ เหมือนมีใครแกล้งจับผมไปวางในที่ที่ไม่เหมาะในเวลาที่ไม่สมควรอยู่เสมอ แน่นอนที่สุดผมก็รับลูกง่ายๆ หลุดมือ ส่งผลให้ทีมเสียสกรัม เสียแดนและนำไปสู่การเสียคะแนนในที่สุด อีกไม่กี่อึดใจต่อมาเสียงนกหวีดดังขึ้น จุฬาฯ แพ้อีกเป็นปีที่สี่ติดต่อกัน (และจุฬาฯ ก็ไม่ชนะอีกเลยในอีกสามปีให้หลัง)

ในมุมมองของคนทั่วไปมันไม่เห็นเป็นเรื่องอะไรใหญ่โตหรอก มันก็เป็นแค่เกมๆ นึงที่อาจจะไม่มีใครจำได้ แต่กับเด็กอายุไม่ถึงยี่สิบ (โอ… กูเคยเด็กขนาดนั้นจริงๆ ด้วยว่ะ) มันเป็นชนักปักติดหลังให้คิดถึงวนเวียนๆ อยู่อย่างนั้นหลายปีอยู่

ในฝันผมก็ไม่มีโอกาสได้แก้ตัวอยู่ดี ก็ยังเป็นคนที่ถูกเปลี่ยนตัวออกแล้วก็ยืนดูจากข้างสนาม เห็นทีมแพ้เหมือนเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีก เพียงแต่คราวนี้ตื่นขึ้นมา ความเสียใจความเสียดายมันไม่มีอยู่แล้ว แต่มันเป็นความรู้สึกแปลกใจตัวเอง เหตุการณ์บางเรื่องเกิดขึ้นเมื่อวานพอวันนี้ก็ถูกลืมไปแล้ว บางวันยังนั่งคิดอยู่ตั้งนานว่าเมื่อเช้ากินอะไรไปว้า

แต่เหตุการณ์บางอย่างกลับติดอยู่กับความคิดเราไปได้นานเกือบครึ่งชีวิต

รถทุกคันในอเมริกาจะต้องมีข้อความเขียนไว้ที่กระจกมองข้างว่า Objects in Mirror Are Closer than They Appear ที่นั่นระบุไว้เป็นกฎหมายที่จะต้องเขียนคำเตือนให้คนขับระลึกว่า สิ่งที่เห็นในกระจกน่ะมันอยู่ใกล้กว่าที่คิด ทำอะไรก็ให้ระวังๆ จะได้ไม่เกิดอุบัติเหตุ

ข้อความนี้ถูกนำมาดัดแปลงเป็นเพลง Objects in the Rear View Mirror May Appear Closer than They Are ของ Meat Loaf ในอัลบั้ม Bat out of Hell II เป็นเพลงแนว Ballad เน้นเปียโนพลิ้วๆ ตามสมัยนิยมเมื่อเกือบยี่สิบปีก่อน ผมมาฟังเพลงนี้ในยูทูบอีกที รู้สึกเฉยๆ ชินๆ กับดนตรี แต่ที่ติดใจมากๆ คือเนื้อหาของเพลงที่พูดถึงเรื่องเลวร้ายสามเรื่องในอดีตที่ไม่สามารถลืมได้ เพื่อนในวัยเด็กที่ตายเพราะอุบัติเหตุ ความโหดร้ายของพ่อ และความหลังเกี่ยวกับผู้หญิงคนนึง ชอบใจในความคิดเปรียบเทียบของคนเขียนเพลง บางสิ่งที่ผ่านมานานแล้ว (Objects in the rear view mirror…) มันยังชัดเจนอยู่ในความทรงจำ (…may appear closer than they are.)

 

อาจจะเป็นคนละกรณีกับคำพูดที่เพิ่งได้ยินมาจากหนังเมื่อไม่นานมานี้ที่ว่า “ไม่ใช่ลืมไม่ได้ เพียงแต่หวังว่ามันจะกลับมา” แต่เรื่องที่ซุกซ่อนอยู่ในมุมมืดของความทรงจำในเพลงของ Meat Loaf เป็นอดีตสามเรื่องที่ไม่มีทางย้อนกลับไปแก้ไขอะไรได้เลย

คนเราเสียเวลาหดหู่อาลัยอาวรณ์กับเรื่องเหล่านี้เหมือนๆ กันทุกคนหรือไม่

มีเรื่องที่ใหญ่กว่าเกมรักบี้ไม่รู้กี่เรื่องที่เราทำผิดพลาด สิ่งที่ไม่ควรพูดกลับพูด สิ่งที่ไม่ควรทำกลับทำ และหลายๆ สิ่งที่ไม่ได้พูดไม่ได้ทำแล้วก็กลับมาเสียดาย หลายเรื่องในชีวิตเราที่เราหวังว่ามันไม่ได้เกิดขึ้น มันเกิดไปแล้วแต่เราก็ยังใช้เวลามานั่งคิดตั้งคำถาม ถ้า… แล้ว… ไปให้มันวกวนและสูญเปล่า แล้วอีกหลายๆ ครั้งที่การย้อนนึกไปถึงเรื่องเหล่านั้นก็ทำให้ตัวเองเป็นทุกข์โดยไม่มีเหตุอันควร

เราบังคับตัวเองให้เลิกชำเลืองดูกระจกมองหลังได้ไหม การไม่มองจะหยุดความรู้สึกว่ามีอะไรอยู่ตรงนั้นได้หรือ การปล่อยให้ความคิดเหล่านี้หลุดออกไปจากความทรงจำมันยากขนาดไหน หรือนี่อาจจะเป็นกลไกของการเรียนรู้ของมนุษย์ที่เขาเรียกว่าบทเรียน หรือมันจะเป็นสีดำที่มาช่วยเติมแต้มให้ภาพชีวิตสวยงามครบถ้วนสมบูรณ์

เรื่องนี้ไม่รู้จะสรุปอะไร ปล่อยทิ้งไว้แค่นี้แล้วกันนะ

Read Full Post »

นนทรีย์ นิมิบุตร อ่านเจอเรื่องราวของดูหลำในหนังสือของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล และหนังสือสารคดีอีกหลายเล่ม เลยคุยกับ เอก เอี่ยมชื่น ซึ่งตัวเอก เอี่ยมชื่น เองก็เคยอ่านเจอเรื่องนี้เหมือนกัน ทั้งคู่เลยคิดว่าอยากทำหนังที่มีความเกี่ยวข้องกับดูหลำ

ปีที่ 1 : 2546

-กลิ่นของปืนใหญ่ฯ เริ่มจากช่วงที่ถ่ายหนังเรื่อง โอเคเบตง นนทรีย์ นิมิบุตร และ เอก เอี่ยมชื่น ได้มีโอกาสอ่านหนังสือที่ชื่อว่า สลัดตะรุเตา ที่เขียนโดย ปองพล อดิเรกสาร และนนทรีย์เกิดไอเดียอยากทำหนังเกี่ยวกับเรื่องนี้ขึ้นมา แต่ก็ยังไม่ได้คุยกันเป็นชิ้นเป็นอันสักเท่าไหร่

– ต่อมา เอก ไปค้นเจอหนังสือประวัติศาสตร์ พบความน่าสนใจของแคว้นที่มีราชินีปกครองถึง 4 องค์ เมื่ออ่านดูแล้วทำให้เห็นภาพที่คิดว่าเหมาะกับการนำมาใช้ในหนังมากกว่า สลัดตะรุเตา จึงส่งให้นนทรีย์อ่านต่อ และทั้งคู่จึงตัดสินใจเลือกใช้เนื้อหาประวัติศาสตร์เข้ามาสร้างเนื้อเรื่องแทน รวมถึงเอาไอเดียของ ดูหลำ เข้ามาร่วม และคิดว่าน่าจะเล่าออกมาในทางแฟนตาซี

-นนทรีย์นำไอเดียทั้งหมดส่งให้ วินทร์ เลียววาริณ เพื่อชักชวนมาเขียนบทภาพยนตร์ วินทร์ตอบตกลง จากนั้นก็มีการออกไปทำรีเสิร์ชเล็กๆเพื่อเป็นพล็อตของภาพยนตร์ขึ้นมา

-วินทร์ส่งพล็อตเรื่องประมาณ 20 แบบ ให้นนทรีย์เลือกทิศทางโดยรวมของหนัง เมื่อเลือกได้แล้ว ก็นำเนื้อเรื่องนั้นทำออกมาเป็นทรีตเม้นต์อีก 5 เวอร์ชัน จึงได้ทรีตเม้นต์ที่เสร็จสมบูรณ์

-ทีมออกแบบงานสร้างของ เอก และนนทรีย์  นำทรีตเม้นต์ที่ได้มาไปรีเสิร์ชเกี่ยวกับประวัติศาสตร์รวมๆ ณ ขณะนั้นของตำแหน่งที่เป็นจุดเกิดของเนื้อเรื่อง รวมถึงบริเวณรอบๆโดยไล่ไปตั้งแต่บริเวณนครศรีธรรมราชลงไปจนถึงมาเลเซีย ซึ่งจะเป็นรัฐมลายูดั้งเดิมในอดีตทั้งหมด แต่รัฐหลายๆแห่งในฝั่งไทยนั้นได้ล่มสลายไปแล้ว ในขณะที่ฝั่งมาเลเซียยังมีความต่อเนื่องของวัฒนธรรมมาจนถึงปัจจุบัน ทีมค้นคว้าจึงต้องเดินทางไปยังห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์ต่างๆในทุกรัฐของมาเลเซีย

ปีที่สอง : 2547

-เริ่มต้นออกหาคนร่วมลงทุนให้กับภาพยนตร์ เนื่องจากหนังตั้งใจจะทำออกมาเป็นไตรภาค เพราะในทางหนึ่งแล้วการสร้างหลายๆภาคจะทำให้การลงทุนในภาคแรกคุ้มค่า เพราะว่าจะสามารถนำฉากหรืออุปกรณ์ต่างๆมาใช้ต่อได้ เหมือนการลงทุนครั้งเดียว

-ในขณะที่วินทร์ลงมือเขียนบทภาพยนตร์ ทีมออกแบบงานสร้างของเอกก็เริ่มทำรีเสิร์ชแบบลงลึกรายละเอียดต่างๆ โดยแบ่งทีมค้นคว้าตามหมวด เช่น หมวดสถาปัตยกรรม หมวดเสื้อผ้า หมวดเรือ หมวดอาวุธ ฯลฯ อย่างเสื้อผ้าก็ต้องค้นคว้าสำหรับตัวละครทุกชาติ หรืออย่างอาวุธมีด ดาบ กริช ก็ต้องมีตัวอย่างให้ดูเป็นร้อยๆพันๆแบบ กระบวนการนี้เกิดขึ้นภายใน 2 เดือน โดยทีมงานอีก 6 คนที่ทำงานตลอด 24 ชั่วโมง

-หลังจากบทภาพยนตร์เสร็จเรียบร้อย ทีมออกแบบก็เริ่มสร้างฉากม็อกอัพและโมเดลวังต่างๆเพื่อใช้ในการเตรียมงานก่อนออกไปถ่ายทำในสถานที่จริง

ปีที่ 3 : 2548

-เริ่มเตรียมอุปกรณ์ประกอบฉากและอุปกรณ์ต่างๆเนื่องจากของแต่ละอย่างมีรายละเอียดที่มากและต้องใช้เวลาทำนานมาก

-เมื่อสิ่งต่างๆพร้อม ก็ออกกองไปถ่ายทำ โดยมีโลเคชันหลักๆที่เกาะสีชัง(ฉากหมู๋บ้านชาวเล) , ระยอง(ฉากกำแพงเมืองและฉากเรือต่างๆ . พังงา(ถ้ำโจรสลัด) และสตูดิโอในกรุงเทพฯ(ฉากท้องพระโรง) สาเหตุที่เลือกใช้โลเคชันบริเวณภา

คตะวันออกเพราะว่าเกาะสีชังมีภูมิประเทศแปลกตา เป็นหน้าผา และที่ตัวเกาะเองก็สามารถใช้ได้เป็นหลายโลเคชัน

-ถ่ายไปได้ครึ่งเรื่อง ก็เริ่มส่งสิ่งที่ถ่ายไปแล้วไปให้ทีมทำคอมพิวเตอร์กราฟฟิคจัดการล่วงหน้า

-ปิดกล้อง

ปีที่ 4-5 : 2549-2550

-เริ่มต้นขั้นโพสต์โปรดักชันอย่างเต็มตัว ใช้เวลาราว 8 เดือนในการทำคอมพิวเตอร์กราฟฟิก หลังจากนั้นเข้าสู่กระบวนการตัดต่อ ทำเสียงและดนตรีประกอบ สำเร็จออกมาเป็นหนังเรื่อง ปืนใหญ่จอมสลัด

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย

10 ล้านบาท คืองบประมาณในการก่อกำแพงเมืองลังกาสุกะ

100 คน จำนวนแรงงานอันน้อยนิดที่ร่วมสร้างวังลังกาสุกะขนาดมหึมา

180 วินาที ที่อนันดาสามารถกลั้นหายใจดำน้ำได้ในช่วงที่ถ่ายหนังเรื่องนี้

200 ล้านบาท คืองบประมาณที่ทำให้ภาพและเสียงของ ปืนใหญ่จอมสลัด ในหัวของ นนทรีย์ กลายเป็นจริงต่อหน้าผู้ชม

200 วันกว่าๆ คือระยะเวลาที่ทำให้วังลังกาสุกะไม่เป็นเพียงแค่แบบแปลนบนกระดาษ

365 วัน ที่วินทร์ เลียววาริณ นั่งจมอยู่กลางภูเขาหนังสือและแฟ้มข้อมูลต่างๆเพื่อเนรมิตหลายล้านตัวอักษรออกมาเป็นบทภาพยนตร์

………………………………………………………………………………………………………………………………………

ข้อมูลทั้งหมดจากนิตยสาร a day special ฉบับ ปืนใหญ๋จอมสลัด

Read Full Post »

ท่อนโซโล่เพลง Stairway To Heaven ของ Led Zepplin นั้น Jimmy Page ใช้กีตาร์ Fender Telecaster ปี 1958 อัดเสียง ซึ่งกีตาร์ตัวนี้เป็นของขวัญจาก Jeff Beck เพื่อนเก่าจากวง Yardbirds และใช้แอมป์ยี่ห้อ Supro

ข้อมูลจาก นิตยสาร Overdive issue 100

Read Full Post »